FAQs

คำถาม ที่พบบ่อย


– กรณียื่นคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัทพร้อมกันภายในวันเดียวกันจะให้ผู้ถือหุ้นเป็นผู้จองชื่อก็ได้

– กรณีจองชื่อนิติบุคคลเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการเป็นผู้จองชื่อ

นายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วัน  ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน  ลูกจ้างรายวันหรือรายชั่วโมงก็ตาม

ผู้ทำบัญชีที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปี รวมทั้ง ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่ (เฉพาะสมาชิกสามัญ)  และการซื้อหนังสือสภาฯ หรือสมัครอบรมหรือสัมมนาในอัตราสมาชิก เป็นต้น แต่ผู้ขึ้นทะเบียนไม่มิสิทธิดังกล่าวได้

การประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีฯ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 44 โดยเลือกดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ผู้ทำบัญชี คือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่งจะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คน ซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีนั้นถูกกำหนดตามขนาดของธุรกิจ โดยผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี ส่วนผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป หรือเทียบเท่า

นักบัญชีทุกคนไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะการเป็นนักบัญชีทั่วไปไม่ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้ เป็นผู้มีหน้าที่ทำบัญชีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงนามใน สบช.3 โดยผู้ทำบัญชีทุกคนจะต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภาย ใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่รับทำบัญชี

สำนักงานประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลใบใหม่และจัดส่งให้ผู้ประกันตนตามที่อยู่ที่แจ้งไว้  แต่ถ้าผู้ประกันตนรายใดยังไม่ได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ขอให้ยื่นแบบฟอร์ม สปส. 9-02 เพื่อขอบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลใบใหม่

ถ้าเป็นในกรณีลาออกและถูกเลิกจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ใน 1 ปีปฏิทิน มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน

–  หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานตอนอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ จะสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ภายในสิทธิการคุ้มครองต่อ 6 เดือน หลังจากออกจากงานหรือที่บริษัทเก่า  และเมื่อกลับเข้ามาทำงานจะได้รับสิทธิในกองทุนเงินทดแทน

–  ส่วนการสมัคร ม. 39 จะไม่สามารถสมัครได้ เนื่องจากผู้ประกันตนที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์  สามารถทำงานกับนายจ้างได้ และนายจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทน (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายอันเนื่องจากการทำงาน) ได้
ยกเว้น ไม่สามารถขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสังคม (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายอันไม่เนื่องจากการทำงานได้ และไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้

yoast seo premium free