Tag - จดทะเบียนบริษัท

บริการ จดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน ทะเบียนคณะบุคคล ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนเครื่องหมายการค้า  ด้วยทีมงานมืออาชีพ พร้อมให้บริการทุกวัน โทร 065-829-1664 , 062-935-4646

หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน

จัดทำบัญชี ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน จำกัดนั้นๆ เป็นผู้ดำ เนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ จัดทำ บัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้ 1. จัดทำ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่น ตามความจำ เป็นแก่การทำ บัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน 2. ต้องจัดให้มีผู้ทำ บัญชีเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ บัญชีของ ห้างหุ้นส่วน ซึ่งอาจเป็นพนักงาน ผู้รับจ้างทำ บัญชีอิสระ หรือสำ นักงานบริการ รับทำ บัญชี ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ ำ กว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็น ผู้ทำ บัญชี ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำ กัด ที่มี ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมี รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถให้ผู้ที่จบไม่ต่ ำ กว่าอนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำ บัญชี ก็ได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำ บัญชีให้จัดทำ บัญชีให้ตรงต่อความ เป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 3. ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้แก่ผู้ทำ บัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำ เนินงาน ฐานะการเงิน [...]

จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ห้างหุ้นส่วน

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วน ความหมายของห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำการค้าร่วมกัน เพื่อแสวงหากำ ไร และแบ่งผลกำ ไรจากการดำ เนินกิจการนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถ ลงหุ้นด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ ถ้าลงหุ้นด้วย ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงิน ห้างหุ้นส่วนมี 2 ประเภท คือ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทเดียว คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของ ห้างหุ้นส่วนทั้งหมด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียน จะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำ นวนเงิน ที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะมีคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียน ถ้าไม่จดทะเบียนถือว่าเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของกรมสรรพากรด้วย

จดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)

3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ 3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย 3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล 3.3 พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 3.4 พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 3.5 พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 3.6 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์      1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว) 1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ 1.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย 1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1.5 บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด 2. กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ 2.1 บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร (2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป (4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม (6) [...]

ประกันสังคมน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่

  สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่แล้ว นอกเหนือจากกฏหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจยังมีเรื่องเกี่ยวกับประกันสังคมอีกหนึ่งเรื่องที่คุณต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดำเนินเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกจ้างให้ถูกต้องดังนี้ค่ะ ประกันสังคมคืออะไร           ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม  เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย  คลอดบุตร  ทุพพลภาพ  ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องทำอย่างไร แม้ว่าระบบประกันสังคมจะมีผลคุ้มครองสำหรับลูกจ้าง แต่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ถือว่าเป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฏหมายนายจ้างจะต้องยื่นแบบ และมีหน้าที่ดังนี้ 1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ           หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด) กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) [...]

มี “ประกันสังคม”ไปทำไม

  หลายๆครั้งที่มีคำถามที่ว่ามี “ประกันสังคม”ไปทำไม ทำแล้วได้อะไร คำถามเหล่านี้เกิดจากความไม่เข้าใจในระบบประกันสังคมที่แท้จริง เพื่อความเข้าใจง่ายๆคือการสร้างกองทุนที่เรียกว่า “กองทุนประกันสังคม” โดยนำเงินสมทบจากลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) +เงินสมทบจากสถานประกอบการ(นายจ้าง)ตามสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อมาใช้ในการสร้างหลักประกันให้กับลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ทุกคน และยังมี“กองทุนเงินทดแทน”ที่มีสถานประกอบการ(นายจ้าง)เป็นผู้ส่งเงินสมทบเพื่อการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุในงาน โดยมีสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สูงสุดอันจะเกิดประโยชน์ต่อลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)                หลักการง่ายๆ คือประกันสังคมเป็นการสร้างความมั่นคงของชีวิต และดูแลลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ตลอด 24 ชม.ไม่ว่าขณะทำงาน หรือนอกงานก็ตามโดยใช้หลักในการ“เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”                คำว่า“เฉลี่ยสุข”ที่กล่าวหมายถึงการเบิกการคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร ทันตกรรม                คำว่า“เฉลี่ยทุกข์”เป็นอีกมุมด้านหนึ่งของลูกจ้างจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจ็บป่วยอาการหนักหรือเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย เกิดอุบัติเหตุ จนต้องสูญเสียอวัยวะ ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพ ตกงาน เสียชีวิต ทั้งนอกงาน และในงาน ทำให้ขาดรายได้ที่ต้องจุนเจือครอบครัว บางคนเป็นเสาหลักให้กับทางครอบครัวล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น ทางประกันสังคมก็ต้องดูแลเรื่องของสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าวทั้งสิ้น แต่ถ้าตั้งคำถามว่ามีใครอยากได้ใช้สิทธิเหล่านั้นหรือไม่ คำตอบที่ได้รับคือไม่ แต่อีกหลายคนที่ไม่สามารถหลีกหนี หรือต้องประสบเหตุการณ์เหล่านั้น เขาเหล่านั้นจะได้การ“เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข”จากเพื่อนๆลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)คนอื่นๆ ช่วยในการรักษา ค่าทดแทนกรณีสูญเสียต่างๆ  เขาเหล่านั้นยังมีโอกาสที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและฝึกอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแรงงานของสำนักงานประกันสังคมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลย ส่วนลูกจ้างที่โชคดีไม่เจ็บป่วย หรือไม่ได้ประสบเหตุการณ์ข้างต้นจะได้รับ“เฉลี่ยสุข”โดยที่เงินสมทบที่สมทบมาตลอดนั้นก็จะย้อนมาเป็นหลักประกันหลังเกษียณอายุทำงาน(อายุ 55 ปี) ยังมีบำเหน็จหรือบำนาญ ไว้ใช้ยามชราภาพทุกคน               ปัจจุบันทางสำนักงานประกันสังคมขยายความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ(อาชีพอิสระ) เช่นชาวไร่ ชาวนา พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระต่างๆที่ไม่มีนายจ้าง ที่ทางสำนักงานประกันสังคมเรียกว่าผู้ประตนโดยสมัครใจตามมาตรา 40(ม.40) เพราะแรงงานเหล่านี้ยังไม่มีหลักประกันในอนาคตเหมือนลูกจ้างในระบบ [...]

yoast seo premium free