Tag - ทำเงินเดือนและประกันสังคม

ทำเงินเดือน Payroll Slip คำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย นำส่งประกันสังคม Visa Work Permit

หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน

จัดทำบัญชี ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน จำกัดนั้นๆ เป็นผู้ดำ เนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ จัดทำ บัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้ 1. จัดทำ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่น ตามความจำ เป็นแก่การทำ บัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน 2. ต้องจัดให้มีผู้ทำ บัญชีเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ บัญชีของ ห้างหุ้นส่วน ซึ่งอาจเป็นพนักงาน ผู้รับจ้างทำ บัญชีอิสระ หรือสำ นักงานบริการ รับทำ บัญชี ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ ำ กว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็น ผู้ทำ บัญชี ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำ กัด ที่มี ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมี รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถให้ผู้ที่จบไม่ต่ ำ กว่าอนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำ บัญชี ก็ได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำ บัญชีให้จัดทำ บัญชีให้ตรงต่อความ เป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 3. ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้แก่ผู้ทำ บัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำ เนินงาน ฐานะการเงิน [...]

จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ห้างหุ้นส่วน

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วน ความหมายของห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำการค้าร่วมกัน เพื่อแสวงหากำ ไร และแบ่งผลกำ ไรจากการดำ เนินกิจการนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถ ลงหุ้นด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ ถ้าลงหุ้นด้วย ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงิน ห้างหุ้นส่วนมี 2 ประเภท คือ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทเดียว คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของ ห้างหุ้นส่วนทั้งหมด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียน จะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำ นวนเงิน ที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะมีคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียน ถ้าไม่จดทะเบียนถือว่าเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของกรมสรรพากรด้วย

จดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)

3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ 3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย 3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล 3.3 พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 3.4 พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 3.5 พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 3.6 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์      1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว) 1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ 1.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย 1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1.5 บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด 2. กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ 2.1 บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร (2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป (4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม (6) [...]

การเปลี่ยนแปลงที่ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม

ในฐานะ HR การดูแลพนักงานให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เริ่มตั้งแต่วันที่พนักงาน เข้าทำงานเป็นวันแรกกันเลยทีเดียว โดยสิ่งที่คุณต้องทำเมื่อรับพนักงานใหม่เข้ามาได้แก่ 1. กรณีลูกจ้างยังไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาก่อน เมื่อรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน และพนักงานคนนั้นยังไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาก่อน ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ลูกจ้าง ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ โดยยื่นแบบหนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-02) และแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ประกันตนภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำ 2. กรณีรับลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาแล้วเข้าทำงาน กรณีลูกจ้างเคยเป็นผู้ประกันตนจากสถานประกอบการอื่น (เคยยื่นแบบ สปส.1-03) แล้วให้นายจ้างแจ้งการรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยใช้แบบแจ้งการรับผู้ประกันตน เข้าทำงาน (สปส. 1-03/1) ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน ระหว่างการทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นของพนักงาน หรือของบริษัท HR จะต้อง ดำเนินการดังนี้ 3. หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ประกันตน นายจ้างจะต้องรีบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามข้อเท็จจริง ของผู้ประกันตนกับ สำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง กรณีผู้ประกันตน เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล หรือ ข้อมูลสถานภาพครอบครัว รวมถึงข้อมูลจำนวนบุตร ให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลง ข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส.6-10) 4. สำหรับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง นายจ้าง เช่น กรณีเปลี่ยนชื่อกิจการ เปลี่ยนแปลงที่ตั้ง/สาขา หรือยกเลิกกิจการ ฯลฯ ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง นายจ้าง (สปส.6-15) ยื่น ณ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง           ในกรณีที่พนักงานลาออก หรือสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว HR ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้หากนายจ้าง แจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งสิ้นสุด ความเป็นผู้ประกันตนล่าช้า เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะทำให้ฐานข้อมูล ผู้ประกันตน ซึ่งเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่ถูกต้องส่งผล [...]

มี “ประกันสังคม”ไปทำไม

  หลายๆครั้งที่มีคำถามที่ว่ามี “ประกันสังคม”ไปทำไม ทำแล้วได้อะไร คำถามเหล่านี้เกิดจากความไม่เข้าใจในระบบประกันสังคมที่แท้จริง เพื่อความเข้าใจง่ายๆคือการสร้างกองทุนที่เรียกว่า “กองทุนประกันสังคม” โดยนำเงินสมทบจากลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) +เงินสมทบจากสถานประกอบการ(นายจ้าง)ตามสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อมาใช้ในการสร้างหลักประกันให้กับลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ทุกคน และยังมี“กองทุนเงินทดแทน”ที่มีสถานประกอบการ(นายจ้าง)เป็นผู้ส่งเงินสมทบเพื่อการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุในงาน โดยมีสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สูงสุดอันจะเกิดประโยชน์ต่อลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)                หลักการง่ายๆ คือประกันสังคมเป็นการสร้างความมั่นคงของชีวิต และดูแลลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ตลอด 24 ชม.ไม่ว่าขณะทำงาน หรือนอกงานก็ตามโดยใช้หลักในการ“เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”                คำว่า“เฉลี่ยสุข”ที่กล่าวหมายถึงการเบิกการคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร ทันตกรรม                คำว่า“เฉลี่ยทุกข์”เป็นอีกมุมด้านหนึ่งของลูกจ้างจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจ็บป่วยอาการหนักหรือเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย เกิดอุบัติเหตุ จนต้องสูญเสียอวัยวะ ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพ ตกงาน เสียชีวิต ทั้งนอกงาน และในงาน ทำให้ขาดรายได้ที่ต้องจุนเจือครอบครัว บางคนเป็นเสาหลักให้กับทางครอบครัวล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น ทางประกันสังคมก็ต้องดูแลเรื่องของสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าวทั้งสิ้น แต่ถ้าตั้งคำถามว่ามีใครอยากได้ใช้สิทธิเหล่านั้นหรือไม่ คำตอบที่ได้รับคือไม่ แต่อีกหลายคนที่ไม่สามารถหลีกหนี หรือต้องประสบเหตุการณ์เหล่านั้น เขาเหล่านั้นจะได้การ“เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข”จากเพื่อนๆลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)คนอื่นๆ ช่วยในการรักษา ค่าทดแทนกรณีสูญเสียต่างๆ  เขาเหล่านั้นยังมีโอกาสที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและฝึกอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแรงงานของสำนักงานประกันสังคมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลย ส่วนลูกจ้างที่โชคดีไม่เจ็บป่วย หรือไม่ได้ประสบเหตุการณ์ข้างต้นจะได้รับ“เฉลี่ยสุข”โดยที่เงินสมทบที่สมทบมาตลอดนั้นก็จะย้อนมาเป็นหลักประกันหลังเกษียณอายุทำงาน(อายุ 55 ปี) ยังมีบำเหน็จหรือบำนาญ ไว้ใช้ยามชราภาพทุกคน               ปัจจุบันทางสำนักงานประกันสังคมขยายความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ(อาชีพอิสระ) เช่นชาวไร่ ชาวนา พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระต่างๆที่ไม่มีนายจ้าง ที่ทางสำนักงานประกันสังคมเรียกว่าผู้ประตนโดยสมัครใจตามมาตรา 40(ม.40) เพราะแรงงานเหล่านี้ยังไม่มีหลักประกันในอนาคตเหมือนลูกจ้างในระบบ [...]

การจัดทำบัญชี

ในการจัดทำบัญชีของกิจการจำเป็นต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจนกระทั่งประมวลผลเพื่อนำเสนองบการเงิน ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ได้ดังนี้ ขั้นตอนการปิดบัญชี การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่ 5.1  งบแสดงฐานะการเงิน 5.2  งบรายได้ค่าใช้จ่าย 5.3  งบกระแสเงินสด 5.4  งบแสดงการเปลี่ยนแลงส่วนของผู้ถือหุ้น 5.5  หมายเหตุประกอบงบการเงิน การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป [/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดนิยมสูงสุดของผู้ทำบัญชี นักทำบัญชี มาฝากซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชี นักทำบัญชี ไม่ควรพลาด ผู้ทำบัญชี คือใคร? ผู้ทำบัญชี คือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่งจะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คน ซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีนั้นถูกกำหนดตามขนาดของธุรกิจ โดยผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี ส่วนผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป หรือเทียบเท่า นักบัญชีทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่? นักบัญชีทุกคนไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะการเป็นนักบัญชีทั่วไปไม่ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้ เป็นผู้มีหน้าที่ทำบัญชีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงนามใน สบช.3 โดยผู้ทำบัญชีทุกคนจะต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภาย ใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่รับทำบัญชี ชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) นับอย่างไร? ผู้ทำบัญชีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development) เพื่อคงสถานะความรู้ทางวิชาชีพไว้ตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มพูมความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต โดยจะต้องนับชั่วโมงให้ได้ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ใน 27 ชั่วโมงนั้น จะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และเรื่องอื่น ๆ อีก 9 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยในรอบ 1 ปีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง นอกจากนี้การเป็นวิทยากรสามารถนับได้ 3 เท่าของชั่วโมงบรรยาย โดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี [...]

โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560

กระทรวงการคลังปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีผลบังคับใช้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป มีรายละเอียด ดังนี้ ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจ าเป็น และสมควรได้3. ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้ (1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน) (4) [...]

yoast seo premium free