Tag - ทำบัญชี

ทำบัญชี,รับทำบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,รับจดทะเบียน,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,สำนักงานบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,ยื่นภาษี,ทำเงินเดือน,ทำประกันสังคม,วีซ่า,ใบอนุญาตทำงาน

หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน

จัดทำบัญชี ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยจะให้หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน จำกัดนั้นๆ เป็นผู้ดำ เนินการแทน ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ จัดทำ บัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังนี้ 1. จัดทำ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่น ตามความจำ เป็นแก่การทำ บัญชี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน 2. ต้องจัดให้มีผู้ทำ บัญชีเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ บัญชีของ ห้างหุ้นส่วน ซึ่งอาจเป็นพนักงาน ผู้รับจ้างทำ บัญชีอิสระ หรือสำ นักงานบริการ รับทำ บัญชี ซึ่งเป็นผู้ที่จบไม่ต่ ำ กว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็น ผู้ทำ บัญชี ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำ กัด ที่มี ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมี รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถให้ผู้ที่จบไม่ต่ ำ กว่าอนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าเป็นผู้ทำ บัญชี ก็ได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจะต้องควบคุมดูแลผู้ทำ บัญชีให้จัดทำ บัญชีให้ตรงต่อความ เป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 3. ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ให้แก่ผู้ทำ บัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำ เนินงาน ฐานะการเงิน [...]

จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ห้างหุ้นส่วน

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วน ความหมายของห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำการค้าร่วมกัน เพื่อแสวงหากำ ไร และแบ่งผลกำ ไรจากการดำ เนินกิจการนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถ ลงหุ้นด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ ถ้าลงหุ้นด้วย ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงิน ห้างหุ้นส่วนมี 2 ประเภท คือ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทเดียว คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของ ห้างหุ้นส่วนทั้งหมด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียน จะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำ นวนเงิน ที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะมีคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียน ถ้าไม่จดทะเบียนถือว่าเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของกรมสรรพากรด้วย

จดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)

3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ 3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย 3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล 3.3 พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 3.4 พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 3.5 พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 3.6 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์      1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว) 1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ 1.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย 1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1.5 บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด 2. กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ 2.1 บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร (2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป (4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป (5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม (6) [...]

การเปลี่ยนแปลงที่ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม

ในฐานะ HR การดูแลพนักงานให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เริ่มตั้งแต่วันที่พนักงาน เข้าทำงานเป็นวันแรกกันเลยทีเดียว โดยสิ่งที่คุณต้องทำเมื่อรับพนักงานใหม่เข้ามาได้แก่ 1. กรณีลูกจ้างยังไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาก่อน เมื่อรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน และพนักงานคนนั้นยังไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาก่อน ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ลูกจ้าง ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ โดยยื่นแบบหนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-02) และแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ประกันตนภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำ 2. กรณีรับลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาแล้วเข้าทำงาน กรณีลูกจ้างเคยเป็นผู้ประกันตนจากสถานประกอบการอื่น (เคยยื่นแบบ สปส.1-03) แล้วให้นายจ้างแจ้งการรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยใช้แบบแจ้งการรับผู้ประกันตน เข้าทำงาน (สปส. 1-03/1) ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน ระหว่างการทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นของพนักงาน หรือของบริษัท HR จะต้อง ดำเนินการดังนี้ 3. หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ประกันตน นายจ้างจะต้องรีบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามข้อเท็จจริง ของผู้ประกันตนกับ สำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง กรณีผู้ประกันตน เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล หรือ ข้อมูลสถานภาพครอบครัว รวมถึงข้อมูลจำนวนบุตร ให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลง ข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส.6-10) 4. สำหรับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง นายจ้าง เช่น กรณีเปลี่ยนชื่อกิจการ เปลี่ยนแปลงที่ตั้ง/สาขา หรือยกเลิกกิจการ ฯลฯ ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง นายจ้าง (สปส.6-15) ยื่น ณ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง           ในกรณีที่พนักงานลาออก หรือสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว HR ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้หากนายจ้าง แจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งสิ้นสุด ความเป็นผู้ประกันตนล่าช้า เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะทำให้ฐานข้อมูล ผู้ประกันตน ซึ่งเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่ถูกต้องส่งผล [...]

การจดทะเบียนพาณิชย์

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์           ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการ อันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ 1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร 2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป 4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และ ขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมี สินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การ รับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม 6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง 7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี 8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการ อินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต 10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 12. การให้บริการตู้เพลง 13. โรงงานแปรสภาพ [...]

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดนิยมสูงสุดของผู้ทำบัญชี นักทำบัญชี มาฝากซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชี นักทำบัญชี ไม่ควรพลาด ผู้ทำบัญชี คือใคร? ผู้ทำบัญชี คือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่งจะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คน ซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีนั้นถูกกำหนดตามขนาดของธุรกิจ โดยผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี ส่วนผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป หรือเทียบเท่า นักบัญชีทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่? นักบัญชีทุกคนไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะการเป็นนักบัญชีทั่วไปไม่ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้ เป็นผู้มีหน้าที่ทำบัญชีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงนามใน สบช.3 โดยผู้ทำบัญชีทุกคนจะต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภาย ใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่รับทำบัญชี ชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) นับอย่างไร? ผู้ทำบัญชีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development) เพื่อคงสถานะความรู้ทางวิชาชีพไว้ตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มพูมความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต โดยจะต้องนับชั่วโมงให้ได้ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ใน 27 ชั่วโมงนั้น จะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และเรื่องอื่น ๆ อีก 9 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยในรอบ 1 ปีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง นอกจากนี้การเป็นวิทยากรสามารถนับได้ 3 เท่าของชั่วโมงบรรยาย โดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี [...]

ไขข้อสงสัย การจ้างสำนักงานบัญชีหรือทำบัญชีเองดีกว่า?.

การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะถ้าหากปราศจากการจัดทำบัญชีที่ดีแล้วธุรกิจอาจต้องประสบปัญหาต่างๆ ไปจนถึงต้องปิดฉากลงเลยก็ได้ ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการจัดการด้านบัญชีที่ดีนอกจากธุรกิจของคุณจะไปรอดแล้ว ผลการวิเคราะห์บัญชียังอาจช่วยอุดรอยรั่วต่างๆ และพัฒนากิจการของคุณให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย ธุรกิจขนาดใหญ่มักจะมีการว่าจ้างพนักงานทำบัญชี ซึ่งมีทั้งที่เป็นพนักงานประจำและพนักงานที่จ้างมาจากสำนักงานบัญชีอิสระ แต่ในธุรกิจ SMEส่วนใหญ่ของไทยกลับไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการจัดทำบัญชีมากเท่าที่ควร มักจะเน้นเรื่องการสร้างสรรค์ผลงาน หรือนวัตกรรมใหม่ที่ยังจับต้องไม่ได้มากกว่า ตรงข้ามกับ SME ต่างชาติที่จะมุ่งเน้นเรื่องต่างๆที่ดูเป็นรูปธรรม อย่างตัวเลขการประมาณการด้านกำไร ขาดทุน ผลประกอบการ ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้ SMEs ไทยขาดความน่าเชื่อถือไป หากคุณหนึ่งในผู้ที่ทำธุรกิจ SMEs หรือธุรกิจอื่นๆที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวและต้องการแก้ไข คุณก็ต้องเริ่มต้นจากการจัดทำบัญชีโดยการจ้างสำนักงานบัญชีมาช่วยดูแลหรือจัดทำบัญชีด้วยตนเอง ซึ่งทั้งสองแบบนั้นต่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป คุณเลือกที่จะทำบัญชีเอง ข้อดีหลักๆของการจัดทำบัญชีด้วยตนเองก็คือ ถ้าคุณคิดว่าการนั่งทำบัญชีเป็นเรื่องที่เหลือบ่ากว่าแรง คุณก็จะสามารถประหยัดงบประมาณในการจ้างพนักงานบัญชีต่อปีไปได้มากทั้งคุณยังไม่ต้องเสียเวลาสืบประวัติการทำงานของสำนักงานว่ามีความหน้าเชื่อถือหรือไม่อีกด้วย ที่สำคัญที่สุด คือ หากคุณตัดสินใจทำบัญชีด้วยตนเองคุณก็จะสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์ต่างๆได้ เพราะคุณจะมีโอกาสตรวจสอบขั้นตอนและกระบวนการต่างๆด้วยตนเอง คุณยังแน่ใจได้อีกด้วยว่าความลับต่างๆโดยเฉพาะความลับทางบัญชีในบริษัทของคุณจะไม่รั่วไหลไปถึงบริษัทคู่แข่งอย่างแน่นอน นอกจากนั้นการที่คุณได้ใช้เวลาพินิจพิเคราะห์รายการบัญชีของกิจการด้วยตนเองอยู่เสมอ ยังทำให้คุณเข้าใจลักษณะกิจการของตนเองดีที่สุดสามารถเห็นจุดบกพร่องต่างๆที่จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ทำให้คุณสามารถนำจุดนั้นไปปรับปรุงก่อนที่จะเกิดปัญหาได้อย่างทันเวลาอีกด้วย แต่การทำบัญชีด้วยตนเองนั้น ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะนอกจากจะต้องดำเนินการกับหน่วยงานต่างๆด้วยตนเองซึ่งไม่สะดวกสบายเหมือนการจ้างสำนักงานบัญชีแล้ว ถ้าคุณไม่มีความรู้มาก่อนคุณก็จำเป็นที่จะต้องเสียเวลามาเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับบัญชี ไปจนถึงขั้นตอนในการใช้ซอฟต์แวร์ปฏิบัติด้วยตนเองนอกจากนี้ถึงคุณทำบัญชีได้ แต่ถ้าคุณไม่มีใบอนุญาตสำหรับผู้สอบบัญชี คุณก็จำเป็นต้องไปหาสำนักงานบัญชี เพื่อให้ทำการตรวจสอบและเซ็นต์รับรองให้ในภายหลัง ซึ่งนอกจากคุณจะเสียเวลาสองต่อแล้ว สุดท้ายคุณก็ต้องจ่ายเงินให้กับสำนักงานบัญชีเป็นค่าตรวจอยู่ดี เห็นได้ชัดว่าไม่ว่าจะเป็นการจ้างสำนักงานบัญชี หรือการเลือกทำบัญชีด้วยตนเองนั้นต่างก็มีประโยชน์มากไม่แพ้กันแต่ในขณะเดียวกันข้อเสียของทั้งสองวิธีก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นคุณต้องเลือกชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียของมันและเทียบดูว่าแบบไหนจะเหมาะสมกับกิจการของคุณมากที่สุด การจ้างสำนักงานบัญชี ถ้าหากคุณเลือกที่จะจ้างสำนักงานบัญชีมาทำบัญชีให้ ข้อดีประการแรกก็คือประหยัดเวลา เพราะการที่คุณเลือกจะเป็นเจ้าของกิจการนั้นหมายความว่าคุณต้องถนัดเรื่องการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีอยู่แล้ว  ดังนั้นการจ้างสำนักงานบัญชีมาจัดการเรื่องบัญชีให้จึงเป็นประโยชน์มากเมื่อเทียบกับการที่คุณต้องเรียนรู้และทำบัญชีด้วยตนเอง นอกจากนี้คุณยังไม่ต้องไปเดินเรื่องกับหน่วยงานของรัฐบาลอย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสรรพากรด้วยตนเองอีกด้วย ข้อดีประการต่อมาก็คือบริษัทที่รับจัดทำบัญชีมักจะมีการอัพเดทข้อมูลภาษี หรือกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดหาซอฟท์แวร์ใหม่ๆที่เอื้อต่อการทำบัญชีมาอำนวยสะดวกในการทำบัญชีอยู่เสมอ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการหาซื้อซอฟต์แวร์ด้านบัญชีอีกด้วย ข้อดีประการต่อมาจากการจ้างสำนักงานบัญชีก็คือประสบการณ์ในการทำงานที่มากกว่า เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่มาเปิดสำนักงานบัญชี มักเป็นผู้ที่เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ หรือสมุห์บัญชีต่างๆมาก่อน การคลุกคลีกับบัญชีต่างๆมาอย่างยาวนานจึงทำให้สำนักงานเหล่านั้นสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที ทั้งยังสามารถช่วยเหลือคุณในการให้คำปรึกษาและวิเคราะห์สถิติที่ระบุไว้ในงบบัญชีต่างๆ ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณในการเอาไปแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจต่อไปได้ แต่สำหรับการจ้างบริษัททำบัญชีก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะนอกจากคุณต้องเสียค่าใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแล้ว คุณยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าสำนักงานบัญชีของคุณนั้นเชื่อถือได้มากแค่ไหน เพราะสำนักงานบัญชีบางรายอาจใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคุณไปสร้างผลประโยชน์เพิ่มเติมให้กับตนเอง เช่น ถ้าไม่โดนขโมยความลับไปขายคู่แข่ง คุณก็อาจจะถูกหลอก เช่น ให้ชำระค่าภาษีเป็นเงินสด ไม่ยอมให้โอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือไม่มีใบเสร็จรับเงินจากสรรพากรหรือประกันสังคมคืนให้คุณเมื่อไปชำระเงินมาแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ จริงๆแล้วสำนักงานบัญชีก็เป็นเสมือนที่ลองสนามของเจ้าหน้าที่บัญชีจบใหม่ที่ต้องการสะสมประสบการณ์ ซึ่งพอพวกเขาเหล่านี้เก็บเกี่ยววิชาความรู้ได้พอสมควรแล้วก็มักจะลาออกไปตั้งสำนักงานของตนเองหรือสังกัดตามบริษัทใหญ่ๆที่ต้องรับผิดชอบเพียงบัญชีเดียวแทน เพราะสำนักงานบัญชีมักให้ค่าแรงต่ำทั้งที่พนักงานคนเดียวจะต้องรับผิดชอบบัญชีของหลายบริษัท ดังนั้นถึงแม้ว่าเจ้าของสำนักงานที่คุณจ้างจะมีประสบการณ์ทำงานมาก แต่คุณจะรู้ได้ยังไงว่าเขาเป็นคนทำบัญชีให้คุณด้วยตนเอง[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

yoast seo premium free