ด้านประกันสังคม

การเปลี่ยนแปลงที่ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม

ในฐานะ HR การดูแลพนักงานให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เริ่มตั้งแต่วันที่พนักงาน เข้าทำงานเป็นวันแรกกันเลยทีเดียว โดยสิ่งที่คุณต้องทำเมื่อรับพนักงานใหม่เข้ามาได้แก่ 1. กรณีลูกจ้างยังไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาก่อน เมื่อรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน และพนักงานคนนั้นยังไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาก่อน ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ลูกจ้าง ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ โดยยื่นแบบหนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-02) และแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ประกันตนภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำ 2. กรณีรับลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาแล้วเข้าทำงาน กรณีลูกจ้างเคยเป็นผู้ประกันตนจากสถานประกอบการอื่น (เคยยื่นแบบ สปส.1-03) แล้วให้นายจ้างแจ้งการรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยใช้แบบแจ้งการรับผู้ประกันตน เข้าทำงาน (สปส. 1-03/1) ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน ระหว่างการทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นของพนักงาน หรือของบริษัท HR จะต้อง ดำเนินการดังนี้ 3. หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ประกันตน นายจ้างจะต้องรีบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามข้อเท็จจริง ของผู้ประกันตนกับ สำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง กรณีผู้ประกันตน เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล หรือ ข้อมูลสถานภาพครอบครัว รวมถึงข้อมูลจำนวนบุตร ให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลง ข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส.6-10) 4. สำหรับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง นายจ้าง เช่น กรณีเปลี่ยนชื่อกิจการ เปลี่ยนแปลงที่ตั้ง/สาขา หรือยกเลิกกิจการ ฯลฯ ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง นายจ้าง (สปส.6-15) ยื่น ณ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง           ในกรณีที่พนักงานลาออก หรือสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว HR ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้หากนายจ้าง แจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งสิ้นสุด ความเป็นผู้ประกันตนล่าช้า เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะทำให้ฐานข้อมูล ผู้ประกันตน ซึ่งเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่ถูกต้องส่งผล [...]

ประกันสังคมน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่

  สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่แล้ว นอกเหนือจากกฏหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจยังมีเรื่องเกี่ยวกับประกันสังคมอีกหนึ่งเรื่องที่คุณต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดำเนินเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกจ้างให้ถูกต้องดังนี้ค่ะ ประกันสังคมคืออะไร           ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม  เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย  คลอดบุตร  ทุพพลภาพ  ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องทำอย่างไร แม้ว่าระบบประกันสังคมจะมีผลคุ้มครองสำหรับลูกจ้าง แต่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ถือว่าเป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฏหมายนายจ้างจะต้องยื่นแบบ และมีหน้าที่ดังนี้ 1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ           หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด) กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) [...]

มี “ประกันสังคม”ไปทำไม

  หลายๆครั้งที่มีคำถามที่ว่ามี “ประกันสังคม”ไปทำไม ทำแล้วได้อะไร คำถามเหล่านี้เกิดจากความไม่เข้าใจในระบบประกันสังคมที่แท้จริง เพื่อความเข้าใจง่ายๆคือการสร้างกองทุนที่เรียกว่า “กองทุนประกันสังคม” โดยนำเงินสมทบจากลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) +เงินสมทบจากสถานประกอบการ(นายจ้าง)ตามสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อมาใช้ในการสร้างหลักประกันให้กับลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ทุกคน และยังมี“กองทุนเงินทดแทน”ที่มีสถานประกอบการ(นายจ้าง)เป็นผู้ส่งเงินสมทบเพื่อการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุในงาน โดยมีสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สูงสุดอันจะเกิดประโยชน์ต่อลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)                หลักการง่ายๆ คือประกันสังคมเป็นการสร้างความมั่นคงของชีวิต และดูแลลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ตลอด 24 ชม.ไม่ว่าขณะทำงาน หรือนอกงานก็ตามโดยใช้หลักในการ“เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”                คำว่า“เฉลี่ยสุข”ที่กล่าวหมายถึงการเบิกการคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร ทันตกรรม                คำว่า“เฉลี่ยทุกข์”เป็นอีกมุมด้านหนึ่งของลูกจ้างจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจ็บป่วยอาการหนักหรือเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย เกิดอุบัติเหตุ จนต้องสูญเสียอวัยวะ ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพ ตกงาน เสียชีวิต ทั้งนอกงาน และในงาน ทำให้ขาดรายได้ที่ต้องจุนเจือครอบครัว บางคนเป็นเสาหลักให้กับทางครอบครัวล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น ทางประกันสังคมก็ต้องดูแลเรื่องของสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าวทั้งสิ้น แต่ถ้าตั้งคำถามว่ามีใครอยากได้ใช้สิทธิเหล่านั้นหรือไม่ คำตอบที่ได้รับคือไม่ แต่อีกหลายคนที่ไม่สามารถหลีกหนี หรือต้องประสบเหตุการณ์เหล่านั้น เขาเหล่านั้นจะได้การ“เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข”จากเพื่อนๆลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)คนอื่นๆ ช่วยในการรักษา ค่าทดแทนกรณีสูญเสียต่างๆ  เขาเหล่านั้นยังมีโอกาสที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและฝึกอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแรงงานของสำนักงานประกันสังคมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลย ส่วนลูกจ้างที่โชคดีไม่เจ็บป่วย หรือไม่ได้ประสบเหตุการณ์ข้างต้นจะได้รับ“เฉลี่ยสุข”โดยที่เงินสมทบที่สมทบมาตลอดนั้นก็จะย้อนมาเป็นหลักประกันหลังเกษียณอายุทำงาน(อายุ 55 ปี) ยังมีบำเหน็จหรือบำนาญ ไว้ใช้ยามชราภาพทุกคน               ปัจจุบันทางสำนักงานประกันสังคมขยายความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ(อาชีพอิสระ) เช่นชาวไร่ ชาวนา พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระต่างๆที่ไม่มีนายจ้าง ที่ทางสำนักงานประกันสังคมเรียกว่าผู้ประตนโดยสมัครใจตามมาตรา 40(ม.40) เพราะแรงงานเหล่านี้ยังไม่มีหลักประกันในอนาคตเหมือนลูกจ้างในระบบ [...]

โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560

กระทรวงการคลังปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีผลบังคับใช้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป มีรายละเอียด ดังนี้ ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจ าเป็น และสมควรได้3. ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้ (1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน) (4) [...]

yoast seo premium free