ด้านบัญชีและภาษีอากร

ประกันสังคมน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่

  สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่แล้ว นอกเหนือจากกฏหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจยังมีเรื่องเกี่ยวกับประกันสังคมอีกหนึ่งเรื่องที่คุณต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดำเนินเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกจ้างให้ถูกต้องดังนี้ค่ะ ประกันสังคมคืออะไร           ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม  เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย  คลอดบุตร  ทุพพลภาพ  ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องทำอย่างไร แม้ว่าระบบประกันสังคมจะมีผลคุ้มครองสำหรับลูกจ้าง แต่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ถือว่าเป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฏหมายนายจ้างจะต้องยื่นแบบ และมีหน้าที่ดังนี้ 1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ           หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด) กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) [...]

การจัดทำบัญชี

ในการจัดทำบัญชีของกิจการจำเป็นต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจนกระทั่งประมวลผลเพื่อนำเสนองบการเงิน ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ได้ดังนี้ ขั้นตอนการปิดบัญชี การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่ 5.1  งบแสดงฐานะการเงิน 5.2  งบรายได้ค่าใช้จ่าย 5.3  งบกระแสเงินสด 5.4  งบแสดงการเปลี่ยนแลงส่วนของผู้ถือหุ้น 5.5  หมายเหตุประกอบงบการเงิน การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป [/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดนิยมสูงสุดของผู้ทำบัญชี นักทำบัญชี มาฝากซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชี นักทำบัญชี ไม่ควรพลาด ผู้ทำบัญชี คือใคร? ผู้ทำบัญชี คือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของกิจการแห่งหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้กิจการหนึ่งแห่งจะต้องมีผู้ทำบัญชี 1 คน ซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ทำบัญชีหนึ่งคนจะรับทำบัญชีได้ไม่เกินปีละ 100 แห่ง ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีนั้นถูกกำหนดตามขนาดของธุรกิจ โดยผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี ส่วนผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป หรือเทียบเท่า นักบัญชีทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีหรือไม่? นักบัญชีทุกคนไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะการเป็นนักบัญชีทั่วไปไม่ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้ เป็นผู้มีหน้าที่ทำบัญชีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงนามใน สบช.3 โดยผู้ทำบัญชีทุกคนจะต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภาย ใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่รับทำบัญชี ชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) นับอย่างไร? ผู้ทำบัญชีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development) เพื่อคงสถานะความรู้ทางวิชาชีพไว้ตลอดเวลา รวมทั้งเพิ่มพูมความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต โดยจะต้องนับชั่วโมงให้ได้ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ใน 27 ชั่วโมงนั้น จะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง และเรื่องอื่น ๆ อีก 9 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยในรอบ 1 ปีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง นอกจากนี้การเป็นวิทยากรสามารถนับได้ 3 เท่าของชั่วโมงบรรยาย โดยไม่ให้นับซ้ำหัวข้อเดิมในทุกรอบ 3 ปี [...]

ไขข้อสงสัย การจ้างสำนักงานบัญชีหรือทำบัญชีเองดีกว่า?.

การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะถ้าหากปราศจากการจัดทำบัญชีที่ดีแล้วธุรกิจอาจต้องประสบปัญหาต่างๆ ไปจนถึงต้องปิดฉากลงเลยก็ได้ ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการจัดการด้านบัญชีที่ดีนอกจากธุรกิจของคุณจะไปรอดแล้ว ผลการวิเคราะห์บัญชียังอาจช่วยอุดรอยรั่วต่างๆ และพัฒนากิจการของคุณให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย ธุรกิจขนาดใหญ่มักจะมีการว่าจ้างพนักงานทำบัญชี ซึ่งมีทั้งที่เป็นพนักงานประจำและพนักงานที่จ้างมาจากสำนักงานบัญชีอิสระ แต่ในธุรกิจ SMEส่วนใหญ่ของไทยกลับไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการจัดทำบัญชีมากเท่าที่ควร มักจะเน้นเรื่องการสร้างสรรค์ผลงาน หรือนวัตกรรมใหม่ที่ยังจับต้องไม่ได้มากกว่า ตรงข้ามกับ SME ต่างชาติที่จะมุ่งเน้นเรื่องต่างๆที่ดูเป็นรูปธรรม อย่างตัวเลขการประมาณการด้านกำไร ขาดทุน ผลประกอบการ ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้ SMEs ไทยขาดความน่าเชื่อถือไป หากคุณหนึ่งในผู้ที่ทำธุรกิจ SMEs หรือธุรกิจอื่นๆที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวและต้องการแก้ไข คุณก็ต้องเริ่มต้นจากการจัดทำบัญชีโดยการจ้างสำนักงานบัญชีมาช่วยดูแลหรือจัดทำบัญชีด้วยตนเอง ซึ่งทั้งสองแบบนั้นต่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป คุณเลือกที่จะทำบัญชีเอง ข้อดีหลักๆของการจัดทำบัญชีด้วยตนเองก็คือ ถ้าคุณคิดว่าการนั่งทำบัญชีเป็นเรื่องที่เหลือบ่ากว่าแรง คุณก็จะสามารถประหยัดงบประมาณในการจ้างพนักงานบัญชีต่อปีไปได้มากทั้งคุณยังไม่ต้องเสียเวลาสืบประวัติการทำงานของสำนักงานว่ามีความหน้าเชื่อถือหรือไม่อีกด้วย ที่สำคัญที่สุด คือ หากคุณตัดสินใจทำบัญชีด้วยตนเองคุณก็จะสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์ต่างๆได้ เพราะคุณจะมีโอกาสตรวจสอบขั้นตอนและกระบวนการต่างๆด้วยตนเอง คุณยังแน่ใจได้อีกด้วยว่าความลับต่างๆโดยเฉพาะความลับทางบัญชีในบริษัทของคุณจะไม่รั่วไหลไปถึงบริษัทคู่แข่งอย่างแน่นอน นอกจากนั้นการที่คุณได้ใช้เวลาพินิจพิเคราะห์รายการบัญชีของกิจการด้วยตนเองอยู่เสมอ ยังทำให้คุณเข้าใจลักษณะกิจการของตนเองดีที่สุดสามารถเห็นจุดบกพร่องต่างๆที่จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ทำให้คุณสามารถนำจุดนั้นไปปรับปรุงก่อนที่จะเกิดปัญหาได้อย่างทันเวลาอีกด้วย แต่การทำบัญชีด้วยตนเองนั้น ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะนอกจากจะต้องดำเนินการกับหน่วยงานต่างๆด้วยตนเองซึ่งไม่สะดวกสบายเหมือนการจ้างสำนักงานบัญชีแล้ว ถ้าคุณไม่มีความรู้มาก่อนคุณก็จำเป็นที่จะต้องเสียเวลามาเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับบัญชี ไปจนถึงขั้นตอนในการใช้ซอฟต์แวร์ปฏิบัติด้วยตนเองนอกจากนี้ถึงคุณทำบัญชีได้ แต่ถ้าคุณไม่มีใบอนุญาตสำหรับผู้สอบบัญชี คุณก็จำเป็นต้องไปหาสำนักงานบัญชี เพื่อให้ทำการตรวจสอบและเซ็นต์รับรองให้ในภายหลัง ซึ่งนอกจากคุณจะเสียเวลาสองต่อแล้ว สุดท้ายคุณก็ต้องจ่ายเงินให้กับสำนักงานบัญชีเป็นค่าตรวจอยู่ดี เห็นได้ชัดว่าไม่ว่าจะเป็นการจ้างสำนักงานบัญชี หรือการเลือกทำบัญชีด้วยตนเองนั้นต่างก็มีประโยชน์มากไม่แพ้กันแต่ในขณะเดียวกันข้อเสียของทั้งสองวิธีก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นคุณต้องเลือกชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียของมันและเทียบดูว่าแบบไหนจะเหมาะสมกับกิจการของคุณมากที่สุด การจ้างสำนักงานบัญชี ถ้าหากคุณเลือกที่จะจ้างสำนักงานบัญชีมาทำบัญชีให้ ข้อดีประการแรกก็คือประหยัดเวลา เพราะการที่คุณเลือกจะเป็นเจ้าของกิจการนั้นหมายความว่าคุณต้องถนัดเรื่องการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีอยู่แล้ว  ดังนั้นการจ้างสำนักงานบัญชีมาจัดการเรื่องบัญชีให้จึงเป็นประโยชน์มากเมื่อเทียบกับการที่คุณต้องเรียนรู้และทำบัญชีด้วยตนเอง นอกจากนี้คุณยังไม่ต้องไปเดินเรื่องกับหน่วยงานของรัฐบาลอย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสรรพากรด้วยตนเองอีกด้วย ข้อดีประการต่อมาก็คือบริษัทที่รับจัดทำบัญชีมักจะมีการอัพเดทข้อมูลภาษี หรือกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดหาซอฟท์แวร์ใหม่ๆที่เอื้อต่อการทำบัญชีมาอำนวยสะดวกในการทำบัญชีอยู่เสมอ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการหาซื้อซอฟต์แวร์ด้านบัญชีอีกด้วย ข้อดีประการต่อมาจากการจ้างสำนักงานบัญชีก็คือประสบการณ์ในการทำงานที่มากกว่า เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่มาเปิดสำนักงานบัญชี มักเป็นผู้ที่เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ หรือสมุห์บัญชีต่างๆมาก่อน การคลุกคลีกับบัญชีต่างๆมาอย่างยาวนานจึงทำให้สำนักงานเหล่านั้นสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที ทั้งยังสามารถช่วยเหลือคุณในการให้คำปรึกษาและวิเคราะห์สถิติที่ระบุไว้ในงบบัญชีต่างๆ ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณในการเอาไปแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจต่อไปได้ แต่สำหรับการจ้างบริษัททำบัญชีก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะนอกจากคุณต้องเสียค่าใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแล้ว คุณยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าสำนักงานบัญชีของคุณนั้นเชื่อถือได้มากแค่ไหน เพราะสำนักงานบัญชีบางรายอาจใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคุณไปสร้างผลประโยชน์เพิ่มเติมให้กับตนเอง เช่น ถ้าไม่โดนขโมยความลับไปขายคู่แข่ง คุณก็อาจจะถูกหลอก เช่น ให้ชำระค่าภาษีเป็นเงินสด ไม่ยอมให้โอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือไม่มีใบเสร็จรับเงินจากสรรพากรหรือประกันสังคมคืนให้คุณเมื่อไปชำระเงินมาแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ จริงๆแล้วสำนักงานบัญชีก็เป็นเสมือนที่ลองสนามของเจ้าหน้าที่บัญชีจบใหม่ที่ต้องการสะสมประสบการณ์ ซึ่งพอพวกเขาเหล่านี้เก็บเกี่ยววิชาความรู้ได้พอสมควรแล้วก็มักจะลาออกไปตั้งสำนักงานของตนเองหรือสังกัดตามบริษัทใหญ่ๆที่ต้องรับผิดชอบเพียงบัญชีเดียวแทน เพราะสำนักงานบัญชีมักให้ค่าแรงต่ำทั้งที่พนักงานคนเดียวจะต้องรับผิดชอบบัญชีของหลายบริษัท ดังนั้นถึงแม้ว่าเจ้าของสำนักงานที่คุณจ้างจะมีประสบการณ์ทำงานมาก แต่คุณจะรู้ได้ยังไงว่าเขาเป็นคนทำบัญชีให้คุณด้วยตนเอง[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560

กระทรวงการคลังปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีผลบังคับใช้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป มีรายละเอียด ดังนี้ ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจ าเป็น และสมควรได้3. ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้ (1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน) (4) [...]

yoast seo premium free