มี “ประกันสังคม”ไปทำไม

มี “ประกันสังคม”ไปทำไม

 

หลายๆครั้งที่มีคำถามที่ว่ามี “ประกันสังคม”ไปทำไม ทำแล้วได้อะไร คำถามเหล่านี้เกิดจากความไม่เข้าใจในระบบประกันสังคมที่แท้จริง เพื่อความเข้าใจง่ายๆคือการสร้างกองทุนที่เรียกว่า “กองทุนประกันสังคม” โดยนำเงินสมทบจากลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) +เงินสมทบจากสถานประกอบการ(นายจ้าง)ตามสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อมาใช้ในการสร้างหลักประกันให้กับลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ทุกคน และยังมี“กองทุนเงินทดแทน”ที่มีสถานประกอบการ(นายจ้าง)เป็นผู้ส่งเงินสมทบเพื่อการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุในงาน โดยมีสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สูงสุดอันจะเกิดประโยชน์ต่อลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)
               หลักการง่ายๆ คือประกันสังคมเป็นการสร้างความมั่นคงของชีวิต และดูแลลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ตลอด 24 ชม.ไม่ว่าขณะทำงาน หรือนอกงานก็ตามโดยใช้หลักในการ“เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”
               คำว่า“เฉลี่ยสุข”ที่กล่าวหมายถึงการเบิกการคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร ทันตกรรม
               คำว่า“เฉลี่ยทุกข์”เป็นอีกมุมด้านหนึ่งของลูกจ้างจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจ็บป่วยอาการหนักหรือเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย เกิดอุบัติเหตุ จนต้องสูญเสียอวัยวะ ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพ ตกงาน เสียชีวิต ทั้งนอกงาน และในงาน ทำให้ขาดรายได้ที่ต้องจุนเจือครอบครัว บางคนเป็นเสาหลักให้กับทางครอบครัวล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น ทางประกันสังคมก็ต้องดูแลเรื่องของสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าวทั้งสิ้น แต่ถ้าตั้งคำถามว่ามีใครอยากได้ใช้สิทธิเหล่านั้นหรือไม่ คำตอบที่ได้รับคือไม่ แต่อีกหลายคนที่ไม่สามารถหลีกหนี หรือต้องประสบเหตุการณ์เหล่านั้น เขาเหล่านั้นจะได้การ“เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข”จากเพื่อนๆลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)คนอื่นๆ ช่วยในการรักษา ค่าทดแทนกรณีสูญเสียต่างๆ  เขาเหล่านั้นยังมีโอกาสที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและฝึกอาชีพจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแรงงานของสำนักงานประกันสังคมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลย ส่วนลูกจ้างที่โชคดีไม่เจ็บป่วย หรือไม่ได้ประสบเหตุการณ์ข้างต้นจะได้รับ“เฉลี่ยสุข”โดยที่เงินสมทบที่สมทบมาตลอดนั้นก็จะย้อนมาเป็นหลักประกันหลังเกษียณอายุทำงาน(อายุ 55 ปี) ยังมีบำเหน็จหรือบำนาญ ไว้ใช้ยามชราภาพทุกคน
              ปัจจุบันทางสำนักงานประกันสังคมขยายความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ(อาชีพอิสระ) เช่นชาวไร่ ชาวนา พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระต่างๆที่ไม่มีนายจ้าง ที่ทางสำนักงานประกันสังคมเรียกว่าผู้ประตนโดยสมัครใจตามมาตรา 40(ม.40) เพราะแรงงานเหล่านี้ยังไม่มีหลักประกันในอนาคตเหมือนลูกจ้างในระบบ  ดูแลเฉพาะเรื่องการขาดรายได้ในกรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพแต่เป็นเรื่องปกติระยะแรกๆสิทธิประโยชน์อาจจะดูน้อยซึ่งแน่นอนจะต้องมีการปรับสิทธิประโยชน์ให้มากขึ้น ดีกว่าเดิมอย่างแน่นอน

 

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *


yoast seo premium free